การให้บริการประชาชนของภาครัฐตามหลักพุทธธรรม

  • ศิรวัฒน์ ครองบุญ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ถาวร โคตรชัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • นันทนิษฎ์ สมคิด มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Abstract

            บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการให้บริการประชาชนของภาครัฐภายใต้หลักการภาครัฐของประชาชน เพื่อประชาชน และประโยชน์ส่วนรวม และ 2) เพื่อนำหลักอิทธิบาท 4 มาประยุกต์ใช้ในการให้บริการประชาชนของภาครัฐ กล่าวคือ บริการของภาครัฐมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของผู้ใช้บริการ และภาครัฐมีการดำเนินการที่มีประสิทธิภาพด้วย การนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ตามหลักหรือแนวทางการให้บริการอย่างเสมอภาค การให้บริการที่ตรงเวลา การให้บริการอย่างเพียงพอ การให้บริการอย่างต่อเนื่อง และการให้บริการอย่างก้าวหน้า อันจะก่อให้เกิดการบรรลุเป้าหมายตามแผนแม่บทยุทธศาสตร์ชาติของภาครัฐ และความพึงพอใจของผู้รับบริการ


            หน่วยงานภาครัฐ มีการนำเอาหลักพุทธธรรมมาประยุกต์ใช้ในการทำงาน อันจะทำให้การทำงานบรรลุเป้าหมาย และสร้างความพึงพอใจให้แก่ประชาชน โดยปฏิบัติตามหลักอิทธิบาท 4 คือ (1) ฉันทะ คือ ความพอใจรักใคร่สิ่งนั้น ความพอใจจะส่งผลไปสู่การทำงานด้วยความเพียร (2) วิริยะ คือ ความพยายามทำสิ่งนั้น ทำงานด้วยความเพียร ซึ่งจะนำไปสู่การทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมาย (3) จิตตะ คือ ความเอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้น มีการตรวจตรา และระมัดระวังความปลอดภัย อันจะนำไปสู่ความมีประสิทธิภาพของงาน (4) วิมังสา คือ ความพิจารณาใคร่ครวญหาเหตุผลในสิ่งนั้น มีการหมั่นตริตรองใช้สติปัญญาพิจารณาเหตุผลในสิ่งนั้นๆ ต้องพยายามหาข้อบกพร่องจากงานนั้น ปรับปรุงให้ดีขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การใช้สติปัญญาแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม


คำสำคัญ: การให้บริการประชาชน;  ภาครัฐ;  หลักพุทธธรรม;


 


Abstract


                    The objectives of the academic article were 1) to study the state-run public services under the principle ‘The public sector of the people,’ and 2) to apply the Fourfold Iddhipāda (Four Bases for Success) to the state-run public services. It was to study that the efficiency and quality of the public services were accepted by the users; the public services were effectively provided with applied technologies, and based on equitable service, timely service, ample service, continuous service, and progressive service. Such services would lead to achievement of the government's target according to the national strategy and its master plans, and the satisfaction of service recipients.


                    The application of the Buddhist principles to public services was contributed to the state target achievement and the people’s satisfaction. The applied principle of Buddhism, the Fourfold Iddhipāda, accounted for the following: 1) Chanda (will or aspiration). An aspiration was brought about working with perseverance. 2) Viriya (exertion or endeavor). It was an effort to work until the success was achieved. 3) Citta (thoughtfulness). An active thought was endowed with safety investigation and precaution leading to work efficiency. 4) Vimaṅsa (investigation or examination). It was referred to the contemplation to investigate the reason in things, an exertion to think over things, and an attempt to discover defects of work in order to correct or solve problems properly.


Keywords: Public Service;  Public Sector;  Buddhist Principle;

References

ทศพร ศิริสัมพันธ์. (2549). แนวคิด ทฤษฎีและหลักการรัฐประศาสนศาสตร์ในการตรวจสอบถ่วงดุล. ประมวลสาระ ชุดวิชาแนวคิด ทฤษฎีและหลักการรัฐประศาสนศาสตร์ หน่วยที่ 7, พิมพ์ ครั้งที่ 3. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์. (2564). แนวคิด ทฤษฎีและหลักการรัฐประศาสนศาสตร์. หน่วยที่ 5, รัฐ ประศาสนศาสตร์กับการให้บริการสาธารณะ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2564 แหล่งสืบค้น http://www.drmange.com/images/ulldown_1253695845/Chapter_5.pdf.

ธิติมา ธรรมมา. (2550). รูปแบบการให้บริการของโรงแรมจันทร์กระพิบ อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. นครสวรรค์: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

นันทวัฒน์ บรมานันท์. (2544). หลักกฎหมายปกครองเกี่ยวกับบริการสาธารณะ. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.
________. (2552). หลักกฎหมายปกครองเกี่ยวกับบริการสาธารณะ. พิมพ์ครั้งที่ 4 (ปรับปรุงใหม่). กรุงเทพมหานคร: บริษัท สำนักพิมพ์วิญญูชน จำกัด.

ปราณี อินทวงศ์. (2550). ประสิทธิผลการให้บริการของเทศบาลตำบลบางกะดี่ อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: บัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

พระธรรมโกศาจารย์ (ปัญญา นันทภิกขุ). (ม.ป.ป.). พจนานุกรมธรรมของท่านปัญญานันทะ. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา.

พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2551, 20 มิถุนายน). ธรรมในใจของนักบริหารไฮโซ. กรุงเทพมหานคร: ไทยรัฐ,

สมชาติ กิจยรรยง. (2543). ยุทธวิธีครองใจลูกค้า. กรุงเทพมหานคร: เอ็กเปอร์เน็ท.

สุชีพ ปุญญานุภาพ. (2541). คุณลักษณะพิเศษแห่งพระพุทธศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

Groonroos, C. (1990). Service Management and Marketing: Managing the moment of Truth in Service Competition. Lexington: Lexington Books.

Jarmo R. Lehtinen. (2001). Customer Relationship Management. McGraw-Hill Companies: 1st Edition, December 15.

Kotler, Phillip. (1997). Marketing management: Analysis planning Implementation and control, 8th edition, Englewood Cliffs, (new Jersey: Prentice – Hall Inc.

Lovelock, Christopher. (1992). Seeking Synergy in Service Operations: Seven Things Maketers Need to Know About Service Operation”. European Management Journal.

Millet John D. (1954). Management in the Public Service. New York: McGraw-Hill.

Suchitra Punyarathbandhu – Bhakdi. (1986). Delivery of Public Services in Asian Countries: Cases in Development Administration. Bangkok: Thammasat University Press.
Published
2021-12-31
How to Cite
ครองบุญ, ศิรวัฒน์; โคตรชัย, ถาวร; สมคิด, นันทนิษฎ์. การให้บริการประชาชนของภาครัฐตามหลักพุทธธรรม. วารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์, [S.l.], v. 7, n. 2, p. 135, dec. 2021. ISSN 2350-9406. Available at: <http://213109.knnuz.asia/index.php/jslc/article/view/1802>. Date accessed: 01 dec. 2024.