การสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ เรื่อง แผ่นดินแห่งความหวัง

CREATION OF VISUAL ART WORK ON THE TOPIC “LAND OF HOPE”

  • ทวีศักดิ์ ไชยโกฏิ คณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • บุญทัน เชษฐสุราษฎร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • กนกวรรณ์ นิธิรัฐพัฒน์ คณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพแวดล้อมทิวทัศน์ทางเกษตรกรรม โดยเน้นลงไปในรายละเอียดพื้นที่ที่เป็นความหวังของชีวิต และความสัมพันธ์ของพื้นที่กับผู้คน 2) เพื่อสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรม 2 มิติ แสดงออกผ่านรูปแบบจิตรกรรมภาพทิวทัศน์ในลักษณะเหมือนจริง ที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ทำมาหากินในภูมิลำเนา เป็นการวิจัยแบบเชิงคุณภาพ โดยการรวบรวมข้อมูลจากสภาพแวดล้อม ได้แก่ แหล่งที่อยู่อาศัย พื้นที่ทางเกษตรกรรมในภูมิลำเนา ข้อมูลจากเอกสารเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมทิวทัศน์และอิทธิพลจากผลงานศิลปกรรมของ ทวี นันทขว้าง  ในผลงานชุดทิวทัศน์ชนบท Anselm Kiefer ในผลงานชุด Le Dormeur du Val นิติ วัตุยา ในผลงานชุด novelty บุญนำสาสุด ในผลงานชุด กองฟาง และVincent van Gogh ในผลงานชื่อ The Potato Eaters วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาความชัดเจนของแนวเรื่อง รูปทรงสัญลักษณ์ และเทคนิคกลวิธีดำเนินการสร้างสรรค์


ผลการวิจัยพบว่า 1) จิตรกรรมทิวทัศน์เป็นสารแสดงความรู้สึกถึงผืนแผ่นดินที่ยิ่งใหญ่ แสดงความคิด คือภาพสะท้อนความหวังของชีวิตจากผืนแผ่นดินในธรรมชาติ ตลอดจนบันทึกเรื่องราวช่วงชีวิต ความทรงจำได้เป็นอย่างดี ผ่านพื้นที่เชื่อมโยงกับผู้คนในการดำเนินชีวิต 2) โดยสรุปในการสร้างสรรค์ผลงานวิทยานิพนธ์แผ่นดินแห่งความหวังเห็นคุณค่าและความสำคัญของเรื่องราว และบุคคลรอบ ๆ ตัวให้ความสำคัญกับบุคคนในครอบครัว เป็นจุดเริ่มต้นทางมนุษยธรรม เห็นอกเห็นใจคนยากไร้ มองโลกในแง่ดีดำเนินชีวิตด้วยพลัง และความหวัง

References

กำจร สุนพงษ์ศรี. (2558). ศิลปะสมัยใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จิระพัฒน์ พิตรปรีชา. (2552). โลกศิลปะ ศตวรรษที่ 20. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เมืองโบราณ.

ชะลูด นิ่มเสม. (2541). องค์ประกอบศิลป์. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : อมรินทร์.

บุญทัน เชษฐสุราษฎร์. (2557). ตำราการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์แนวเรื่องวิถีชีวิตและวัฒนธรรมพื้นถิ่นอีสาน. ขอนแก่น : โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

ว.วชิรเมธี และวิกรม กรมดิษฐ์. (2558). คาถาชีวิต 2. กรุงเทพฯ : พริ้นท์ ซิตี้.

ศุภพงศ์ ยืนยง. (2558). จิตรกรรมภาพทิวทัศน์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

สุพัตรา สุภาพ. (2536). สังคมและวัฒนธรรมไทย ค่านิยม ครอบครัว ประเพณี. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพาณิช.

อรนลิน สิงขรณ์ และภาวดี เหมทานนท์. (2564). การบำบัดด้วยความหวังในผู้ป่วยซึมเศร้า:แนวคิดและแนวทางประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ : สมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย.

อิทธิพล ตั้งโฉลก. (2550). แนวทางการสอนและสร้างสรรค์จิตรกรรมขั้นสูง. กรุงเทพฯ : อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

อิทธิพล ตั้งโฉลก. (2560). วาดเส้นพื้นฐาน วาดเส้นสร้างสรรค์และภาพร่าง. กรุงเทพฯ : มีเดียโซน พริ้นท์ติ้ง.
Published
2024-06-24
How to Cite
ไชยโกฏิ, ทวีศักดิ์; เชษฐสุราษฎร์, บุญทัน; นิธิรัฐพัฒน์, กนกวรรณ์. การสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ เรื่อง แผ่นดินแห่งความหวัง. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 8, n. 1, p. 1-10, june 2024. ISSN 2730-2644. Available at: <http://213109.knnuz.asia/index.php/jbpe/article/view/2429>. Date accessed: 28 nov. 2024.